วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ

1. (O-Net 49) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. ซากพืชซากสัตว์ที่ถูกกดทับอยู่ใต้เปลือกโลกที่มีอุณหภูมิและความดันสูงเป็นเวลานานจะเกิดเป็น
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
ข. น้ำมันดิบจะถูกกักเก็บอยู่ใต้พื้นผิวโลกในชั้นหินดินดาน ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายกระทะรองรับไว้
ค. การสำรวจแหล่งปิ โตรเลียมเบื้องต้น คือการศึกษาลักษณะของหินใต้พื้นโลก
ง. ในประเทศไทยพบว่าแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติและแหล่งผลิตน้ำมันดิบเป็นแหล่งเดียวกัน

ข้อใดถูก
1. ก และ ข 2. ก และ ค 3. ข และ ง 4. ค และ ง

ตอบข้อ 1 เพราะข้อ ค ผิด เนื่องจากการสำรวจแหล่งปิ โตรเลียมเบื้องต้น คือการศึกษาลักษณะของหินบนพื้นโลก ส่วนข้อ ง
ผิดเนื่องจากแหล่งน้ำมันดิบของไทยส่วนใหญ่อยู่บนบกส่วนแหล่งก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในทะเล





2. (O-Net 51) ในการกลั่นน้ำมันดิบ ผู้ประกอบการจะใช้การกลั่นลำดับส่วนแทนที่จะเป็นการกลั่นแบบธรรมดา ข้อใดคือเหตุผลหลัก
1) ในน้ำมันดิบมีสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกัน จึงแยกด้วยวิธีการกลั่นแบบธรรมดาไม่ได้
2) การกลั่นแบบธรรมดาใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการกลั่นลำดับส่วน
3) การกลั่นแบบธรรมดาจะได้ปรอทและโลหะหนักออกมาด้วย
4) การกลั่นลำดับส่วนจะไม่เกิดเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

ตอบข้อ 1 เพราะในน้ำมันดิบมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดโมเลกุลใกล้เคียงกัน รวมทั้งไอโซเมอร์ที่มีจุดเดือด
ใกล้เคียงกันจึงต้องแยกด้วยการกลั่นแบบลำดับส่วน





3. (O-Net 53) ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่นปิ โตรเลียม
1) มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
2) เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
3) มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
4) ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม

ตอบข้อ 3 เพราะตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีต้องเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติจึงสามารถใช้งานได้



4. ด้วยเหตุผลข้อใดต่อไปนี้จึงทำให้น้ำมันเบนซินมีจุดเดือดต่ำกว่าน้ำมันดีเซล
1) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลน้อยกว่าน้ำมันดีเซล
2) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลมากกว่าน้ำมันดีเซล
3) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลน้อยกว่าน้ำมันดีเซล
4) น้ำมันเบนซินมีจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลมากกว่าน้ำมันดีเซล

ตอบข้อ 1 เพราะน้ำมันที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลน้อยจะมีจุดเดือดต่ำ



5. น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี
ก. ไอโซออกเทน 93 % เฮปเทน 7 % โดยมวล
ข. ไอโซออกเทน 93 % เตตระเอทิลเลด 7 % โดยมวล
ค. ไอโซออกเทน 90 % เตตระเอทิลเลด 10 % โดยมวล
ง. ไอโซออกเทน 90 % เฮปเทน 10 % โดยมวล

มลพิษจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามลำดับดังข้อใด
1. ข < ค < ก < ง 2. ข < ก < ค < ง 3. ก < ข < ง < ค 4. ก < ง < ข < ค

ตอบข้อ 4 เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีเตตระเอทิลเลดมากจะเป็นอันตรายมาก และถ้ามีค่าออกเทนต่ำอาจทำให้เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ทำให้เกิดมลพิษได้




6.น้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทนเท่ากับ 55 หมายความว่าอย่างไร
1. ประกอบด้วยซีเทน 55 % และเบนซีน 45 %
2. น้ำมันดีเซลที่เติม MTBE ลงไป 45 %
3. น้ำมันที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับมีแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน 55 %
4. น้ำมันที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับน้ำมันดีเซลที่มี CH3(CH2)14CH3 55 %

ตอบข้อ 4 เพราะน้ำมันน้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทนเท่ากับ 55 หมายถึงน้ำมันที่มีสมบัติในการเผาไหม้เหมือนกับน้ำมันดีเซลที่มีซีเทน (CH3(CH2)14CH3) เป็นองค์ประกอบ 55 % และแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน 45 %




7.แก๊สหุงต้มในครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นแก๊สบิวเทน เมื่ออยู่ในถังอยู่ในสถานะใด เพราะเหตุใด
1) ของเหลว เพราะเพิ่มความดัน 2) ของเหลว เพราะลดอุณหภูมิ
3) ของเหลว เพราะเพิ่มอุณหภูมิ 4) แก๊ส เพราะอุณหภูมิสูง

ตอบข้อ 1 เพราะภายในถังแก๊สจะอัดความดันไว้ ดังนั้นแก๊สจะเปลี่ยนเป็นของเหลว เมื่อเราเปิ ดวาล์วถังแก๊สความดันจะลดลงของเหลวจะระเหยเป็นแก็ส



8.ข้อแตกต่างระหว่างแก๊สธรรมชาติเหลว (LNG) และแก๊สปิ โตรเลียมเหลว (LPG) ต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
ก. ในการนำมาเป็นเชื้อเพลิง LNG ใช้ในครัวเรือนและยานพาหนะส่วน LPG ใช้ในอุตสาหกรรม
ข. การนำมาใช้ประโยชน์ต้องกำจัดสารที่ไม่ใช่ไฮโดรคาร์บอนออกจาก LNG ส่วน LPG สามารถนำมาใช้ได้เลย
ค. LNG เป็นแก๊สผสมสามารถนำไปกลั่นได้น้ำมันเบนซิน ส่วน LPG เป็นแก๊สไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากการกลั่น
น้ำมันดิบ

1. ก. และ ข. 2. ข. และ ค. 3. ก. และ ค. 4. ก. ข. และ ค.

ตอบข้อ 2 เพราะแก๊สที่ขุดพบในธรรมชาติที่เป็นของเหลวปนแก๊สเรียกว่า LNG หรือ Liquid Natural Gas ซึ่งจะมีทั้งปรอทไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลเล็กๆ ตั้งแต่ C1-C6 เมื่อนำไปกลั่นแยกจะได้ส่วนที่เป็น C3-C4 เราเรียกว่าแก๊สปิโตรเลียมเหลว (LPG หรือ Liquid Petroleum Gas) LPG ใช้ในครัวเรือนและยานพาหนะส่วน LNG ใช้ในอุตสาหกรรม




9.การใช้ก๊าซหุงต้มเพื่อให้ได้ความร้อนสูงที่สุดควรปรับเปลวไฟให้เป็นสีอะไร
1. สีแดง 2. สีเหลือง 3. สีน้ำเงิน 4. สีเขียวอมเหลือง

ตอบข้อ 3 เพราะเชื้อเพลิงเผาไหม้หมดทำให้เกิดความร้อนสูงสุด หากเปลวไฟมีสีเหลืองหรือสีแดงแสดงว่าก๊าซยังถูกเผา
ไหม้ไม่หมด





10.(O-Net’51) พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. LPG เป็นแก๊สหุงต้มและสามารถปรับใช้แทนน้ำมันเบนซินได้
ข. เลขออกเทนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ส่วนเลขซีเทนนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล
ค. แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมเมทานอล (แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง) กับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน1:9
ง. MTBE เป็นสารที่เติมลงในน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาไหม้และเรียกว่าน้ำมันไร้สารตะกั่ว
ข้อใดถูก
1. ก. และ ข. เท่านั้น
2. ค. และ ง.
3. ก. ข. และ ค.
4. ก. ข. และ ง.

ตอบข้อ 4 เพราะข้อ ค. ผิดเนื่องจากแก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมเอทานอลกับน้ำมันเบนซิน


วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์
1. ลำดับจุดเดือด เรียงจากสูงไปต่ำของไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากน้ำมันปิโตเลียมต่อไปนี้ ถูกต้อง คือ
A. น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันดีเซล น้ำมันก๊าซ เบนซิน
B. พาราฟิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล แก็สปิโตรเลียม
C. น้ำมันหล่อลื่น เบนซิน น้ำมันดีเซล แก็สปิโตรเลียม
D. พาราฟิน ยางมะตอย น้ำมันดีเซล เบนซิน
2. การผลิตพอลิสไตรีน โดยเริมต้นจากน้ำมันดิบจะขาดกระบวนการใดไม่ได้
A. แตกสลาย
B. รีฟอร์มมิง
C. แอลคิเลชัน
D. โอลิโกเมอไรเซชัน
3. จำนวนคาร์บอนของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต PVC และเทฟลอน มีกี่อะตอมต่อโมเลกุล
A. 2 อะตอมทั้งคู่
B. 2 และ 3 อะตอมตามลำดับ
C. 3 อะตอมทั้งคู่
D. 3 และ 2 อะตอมตามลำดับ
4. ข้อใดเป็นการเลือกปฏิบัติได้เหมาะสมที่สุด
A. เก็บขวดน้ำพลาสติกไม่ใช้แล้วไว้ใส่น้ำในเบนซิน
B. ใช้ถ้วยชามที่ผลิตจากพอลิเอทิลีนอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ
C. ใช้ภาชนะที่เคลือบด้วยพอลิเตตระปลูออโรเอทิลีนในการทอดปลา
D. เก็บรวบรวมถ้วยชามประเภทเมลามีนที่ชำรุดไว้เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่
5. สิ่งที่ควรได้รับการพิจารณามากที่สุดในการลดปัญหาทางมลภาวะของสิ่งแสดล้อมคืออะไร
A. ลดอัตตาการใช้ทรัพยากรโลก
B. ลดอัตตาการเพิ่มของประชากรโลก
C. จำกัดอำนาจการบริโภค อุปโภคของมนุษย์
D. ลดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี อันอาจจะทำให้มีปัญหาติดตามมาภายหลัง

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

จงอ่านชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่อไปนี้






























































































































































วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การอ่านชื่อสาร

จงเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่อไปนี้

1. 2- เมทิลโพรเพน
2. 2 - เมทิล - 1 -โพรพีน
3. 2,2 ไดเมทิลโพรเพน
4. 2 – เมทิลบิวเทน

5. 2- เมทิลเพนเทน
6. 2,2 - ไดเมทิลบิวเทน
7. 2 - เมทิล - 2 - บิวทิล
8. เพนเทน
9. 4 - เอทิล - 2 เมทิลเฮกเทน
10. เอทานาไมด์
11. แอซีทาลดีไฮด์หรือเอทานอล
12. เมทิลแอซีเตต
13. อะมิโนมีเทน